อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 8 พื้นที่
วันที่ 20 เม.ย. 67 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 22.1-41.2 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.2 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 8 พื้นที่
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ในช่วง 22.7-41.2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 8 พื้นที่ คือ
1. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
2. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 39.3 มคก./ลบ.ม.
3. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
4. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
5. สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.
7. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.
8. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ : คุณภาพอากาศระดับสีส้ม : เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
วรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 19-28 เม.ย. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัว ถึงลดลงเล็กน้อย และคาดการณ์วันนี้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครพบจุดความร้อน ในวันที่ 19 เมษายน 2567 จำนวน 2 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 เวลา 13.42 น. แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก
จุดที่ 2 เวลา 13.42 น. แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค
(เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)
แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
– แอปพลิเคชัน AirBKK
– www.airbkk.com
– www.pr-bangkok.com
– FB : สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
– FB : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
– FB : กรุงเทพมหานคร
– LINE ALERT
ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue
รายงานข้อมูลโดย : ทีมโฆษกศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร
แหล่งข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ.